วันนี้ทางสานอาศรมฯ
มีเรื่องราวที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ซึ่งนับเป็น
วันสำคัญทางประวัติศาสตร์นั่นคือ
วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕
วันนี้ทางอาศรมฯ ขอนำเสนอ
แนวคิดก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองว่ามีเหตุสำคัญๆ
อะไรเกิดขึ้นบ้างก่อนเปลี่ยนแปลงการ
ปกครองประเทศสยามยังปกครองด้วยระบอบสมบูรณญาสิทธิราชย์
สาเหตุที่ต้องมีการเปลี่ยน
แปลงเป็นระบอบประชาธิปไตยเพราะว่าเศรษฐกิจของประเทศสยามขณะนั้นส่งออกข้าวเป็นหลัก
ในสมัยนั้นมี
การก่อตัวของกลุ่มสังคมใหม่ๆ
ที่ไม่ยอมรับเอาแนวคิด
และการผูกขาดอำนาจของ
ราชสำนักประมาณ ๒๐ ปี หลังจากที่
ร.๕
สวรรคตระบอบเดิมก็ถูกโค่นล้มโดยคณะราษฎรซึ่ง
เป็นสมาชิกของกลุ่มข้าราชการใหม่
และซึ่งได้รับการสนับสนุนจากชุมชนเมืองกลุ่มต่างๆ
ของสยาม หลัง พ.ศ ๒๔๗๕
มีกลุ่มการเมือง ๓
กลุ่มขับเคี่ยวกันเพื่อควบคุมอนาคตของสยาม
กลุ่มแรกมาจากสมาชิกของข้าราชการ
และสมาชิกของกลุ่มขุนนางเก่ากลุ่มนี้เชื่อว่า
พวกเขามีสิทธิที่จะปกครองสยาม
กลุ่มนี้ยังเห็นด้วยกับระบบสมบูรณาญาสิทธิ์ราชที่ว่าอำนาจของ
ข้าราชการมีกำเนิดจากอำนาจของพระมหากษัตริย์
กลุ่ม ๒
คือปีกทหารของคณะราษฎรที่ทำการปฏิวัติใน
พ.ศ. ๒๔๗๕ ตลอดทศวรรษ ๒๔๗๐
กลุ่มนี้พัฒนาแนวคิดที่ว่ากองทัพเป็นผู้นำตามธรรมชาติของสังคมใหม่
เป็นตัวแทนของ
ประชาชนมีหน้าที่ทำการเปลี่ยนแปลงสังคม
และมีหน้าที่ปฏิรูปเศรษฐกิจโดยคำสั่งของผู้บริหาร
กลุ่มนี้หยิบยืมเทคนิคการควบคุมสังคมจากขบวนการฟาสซิสในยุโรปและญี่ปุ่น
กลุ่มนี้มีความ
คิดว่าคนที่สนับสนุนพวกเขาคือชาวนาชาวไร่ยกย่องชาวนาชาวไร่นี้ว่าเป็นเชื้อชาติทหาร
และจุดมุ่ง
หมายหลักของสังคมคือการสร้าง"
รัฐชาติไทย" ที่ทรงพลัง
กลุ่ม ๓ คือ
เป็นฝ่ายพลเรือนซึ่งอยู่ในกลุ่มคณะราษฎร
และผู้สนับสนุนอื่นๆ
ซึ่งเป็นชนชาวเมืองของสังคมใหม่ๆ
กลุ่มนี้สนับสนุนระบบสังคมที่เปิดกว้าง
และเป็นระบบการเมือง
ที่ประชาชนมีสิทธิมีเสียงตระหนักถึงความสำคัญของชาวไร่ชาวนาแต่ต้องการที่จะเห็นนักธุรกิจ
และผู้ใช้แรงงานมีบทบาทในระบบการเมืองด้วยกลุ่มนี้สนับสนุนการปกครองในระบอบรัฐธรรมนูญการ
มีผู้แทน
และการมีระบบเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรื่องโดยมีรัฐบาลสนับสนุนธุรกิจเอกชน
กลุ่มที่ ๓
ได้รับแรงสนับสนุนเป็นครั้งเป็นคราวจากข้าราชการที่เลื่อมใสความคิดใหม่ๆ
กลุ่มผู้ใช้แรงงานซึ่ง
เริ่มก่อตัวขึ้น
และนักธุรกิจการเมืองสมัยใหม่ผู้มีอิทธิพลในเขตหัวเมือง
นักวิชาการ
และนาย--ทหารบางคนภายในกลุ่มที่ ๓
นี้มีความคิดไม่เป็นหนึ่งเดียวเกี่ยวกับบทบาทและพัฒนาการของ
รัฐแต่พวกเขามีความคิดสอดคล้องกันตรงที่อยากเห็นระบบอำนาจนิยมลดความสำคัญ
ลงให้ประชาชนมีสิทธิมีเสียง
และขยายบทบาททางการเมืองไปสู่ชุมชนต่างๆ
อย่างกว้างขวาง