
หอสมุดทางเลือก

อาศรมวงศ์สนิทเป็นทางเลือกอีกทางสำหรับระบบโรงเรียน
หรือ มหาวิยาลัย
เพราะสถาบันเหล่านั้น
ส่วนมากมองการศึกษาว่า
สถาบันนั้น ๆ เป็นผู้ให้ กับบุคคล
ผู้เข้ามารับการศึกษา
สำหรับอาศรมแล้ว
วัฒนธรรม แห่งการเรียนรู้
ของชาวอาศรมคือการ แลกเปลี่ยน
แบ่งปัน เราเชื่อว่า
มนุษย์สามารถ เอื้อการเรียนรู้
ซึ่งกัน
และกันได้โดยไม่จำกัดว่า
มีใครเก่งกว่าใคร มีใครรู้มาก
รู้จริงกว่าใคร ด้วยเหตุนี้
หอสมุด จึงกลายมาเป็นเส้นเลือด
ใหญ่ที่ทำให้ วัฒนธรรม
แห่งการเรียนรู้
ของอาศรมวงศ์สนิท
เป็นจริงขึ้นมา
พูดถึงอาศรมวงศ์สนิท
เราไม่ได้หมายถึง
สมาชิกชุมชนที่อยู่ที่นั่น
หากเราหมายถึง บุคคล
ที่อุทิศตนทำงาน
เพื่อสังคมได้มาพัก มาอยู่
กับธรรมชาติ ต้นไม้
อยู่ในที่ที่เอื้อ
ให้เขาได้ค้นหา
มิติใหม่ที่หัวใจ กับสมอง
และร่างกาย ผสานกัน
เขาจะผลิตงานเขียน ภาพวาด หรือ
บทละคร ชิ้นเอกอุออกมาได้
หรือไม่ก็ตาม
หอสมุดก็จะเป็นปัจจัย
สำคัญที่ทำให้การ หลีกเร้นของ
นักกิจกรรม
เหล่านี้เป็นผลสำเร็จ
อย่างรอบด้าน
อีกภาพหนึ่ง
เมื่อมองชนชั้นกลาง
ที่อยู่ในกรอบจำกัด
ของกระแสธุรกิจ บางคนอาจจะ
มีโอกาสทำงาน
ใช้ความคิดสร้างสรรค์ท้าทาย
แต่คงไม่ใช่ทุกคนที่จะมีความสุข
และหาความหมายใด้ ในงานที่ตนทำ
ครั้งหนึ่งเขา
ได้เคยเข้ามาสัมผัส
กับรายการสุดสัปดาห์เล็ก ๆ
ที่อาศรม จัดขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นการ ภาวนา
หรือ ศิลปบาติก กับการค้นพบ
พลังสร้างสรรค์ หรือแม้
กระทั้งรายการ จิตบำบัดแบบพุทธ
ทั้งนี้คงจะไม่กล่าวถึงการอบสมุนไพร
การนวดแผนโบราณ จากเพื่อนบ้าน
ตลอดจนการขุดดิน
ปลูกผักปลอดสารพิษ สิ่งเหล่านี้
สามารถเข้าร่วม ได้ตลอดเวลา
ตามใจสมัคร หรือท่านจะ
รู้ที่มาที่ไป
ของกิจกรรมที่จัดขึ้น
อย่างลึกซึ้งกว่านั้น หอสมุด
ก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้
บางทีเราอาจจะ นึกถึง วิตามิน
ในร่างกายมนุษย์
ในปริมาณที่น้อยกว่า เมื่อเทียบ
กับสัดส่วน น้ำหนักของ มนุษย์
แต่วิตามินก็เป็น
สิ่งที่ขาดเสียมิได้
กวีมาเลเซียคนหนึ่งกล่าวไว้ว่า "คำกลอนเพียงสองบรรทัด
ได้ปลุกเร้า ให้เขาท้าทาย
ที่จะดำรงชีวิตอยู่
สืบต่อจนถึงวันนี้
หาไม่แล้วชีวิตเขาก็อาจปลดปลง
ไปกับความหดหู่ และท้อถอย "
ท่านคงจะทราบดีว่า
หนังสือเกี่ยว
กับทางออกของสังคม
ทางเลือกของการพัฒนา
ตลอดจนหนังสือ ที่อ่านแล้ว
ช่วยปลุกปลอบ สร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้มนุษย์เดินสวนกระแสสังคม
ที่เต็มไปค้วยความเห็นแก่ตัว
หนังสือที่มีอยู่เห็นเป็นจำนวน
น้อย และหาได้ยาก
นับเป็นโอกาสดี
สำหรับทั้งผู้ให้
และผู้รับที่สามารถสร้างสรรค์
หอสมุดทางเลือก
อย่างเป็นรูปเป็นร่าง ขึ้น
มาในสังคมไทย
และเป็นนิมิตหมายที่ดี ที่
ส.ศิวรักษ์ และ อ.กรุณา กุศลาศัย
ได้บริจาค หนังสือที่ท่าน
ทั้งสอง ที่สะสม มากว่าค่อนชีวิต
ให้เป็นสมบัติ ส่วนกลาง
ดังคำพูดของ ใครที่พูดไว้ว่า การเริ่มต้นที่ดี
เท่ากับสำเร็จ
ไปแล้วครึ่งหนึ่ง
อนึ่ง หอวรรณาคาร ที่สร้างไว้นั้น ไม่สะควก
กับการเก็บหนังสือ จึงต้องการ
ใช้หอวรรณาคารนั้น
เป็นที่อ่านหนังสือ
และสังสันทนา
ซึ่งจะเหมาะสมกับการใช้ประโยชน์
มากกว่า โดยย้ายหนังสือ
ไปในอาคารใหม่ ซึ่งจัดเป็น
หอสมุดที่ รวบรวม สรรพวรรณคดี
และเอกสารทางเลือกต่าง ๆ
ในทางความงาม ความดี
รวมทั้งการเมืองสีเขียว
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ
และไตรสิกขาสมัยใหม่
โดยตั้งชื่อ อาคารใหม่นี้ว่า อังคารภวัน
เพื่อเป็นเกียรติแก่ อังคาร
กัลยาณพงศ์ ศิลปิน
และกวีที่สำคัญ ยิ่งแห่งสมัย
เนื่องในโอกาส ครบ ๖
รอบนักษัตรของ บุคคลผู้นี้
ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๒
ที่ผ่านมานี้
ถ้าท่านผู้ใด
ประสงค์จะมีส่วน ร่วมสร้าง
และสนับสนุนการดำเนินงาน หอสมุด
อังคารภวัน
เพื่อเป็นเกียรติแก่กวี
และศิลปิน ร่วมสมัยในขณะที่
เขายังดำรงชีวิตร่วมอยู่กับเรา
สามารถ บริจาค ได้ โดยขอ
ให้ส่งใบบริจาค ไปที่
อาศรมวงศ์สนิท ตู้ ปณ. ๑
ปท.องครักษ์ จ.นครนายก ๒๖๑๒๐ |