หลังจากที่ราชการ
ได้จดทะเบียนอนุญาต
ให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิ ได้แล้ว
คณะผู้ก่อตั้ง ได้แปรสภาพมาเป็น
คณะกรรมการมูลนิธ ิโดยปริยาย
โดยมีการประชุม
คณะกรรมการเป็นครั้งแรก
หลังจากจดทะเบียน เมื่อวันที่ ๒๕
กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒ หม่อม ดุษฎี
บริพัตร ณ อยุธยา
ได้รับเลือกให้เป็น
ประธานกรรมการ
และผู้จัดการมูลนิธิ นายยศ
วัชรเสถียร เป็นรองประธาน
นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์
เป็นเหรัญญิก และนายขรรค์ชัย
บุนปาน เป็นเลขานุการ
นอกนั้นเป็น กรรมการกลาง
ในการประชุมวันดังกล่าว
ที่ประชุม เสนอแต่งตั้ง
กรรมการเพิ่มอีก ๒ ท่านให้ครบ
ตามตราสาร ซึ่งระบุไว้ว่ามี
คณะกรรมการไม่ต่ำกว่า ๕ ท่าน
และไม่เกิน ๙ ท่าน กรรมการที่ได
้รับเสนอชื่อทั้ง สองท่าน คือ
นางสมศรี สุกุมลนันทน์
ซึ่งเป็นบุตรีของ
พระยาอนุมานราชธน และนายศรีกมล
นาคะประทีป ซึ่งเป็นบุตรของ
พระสารประเสริฐ
ในการนี้ที่ประชุมเสนอให้แต่งตั้งนายทวีป
วรดิลก เป็นที่
ปรึกษากฎหมายประจำ มูลนิธิ
พร้อมกับได้แต่งตั้ง
คณะอนุกรรมการ เพื่อดำเนินงาน
ตามที่ คณะกรรมการมอบหมาย จำนวน ๕
ท่าน คือ
๑. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์
ประธานคณะอนุกรรมการ
๒. นายขรรค์ชัย บุนปาน
อนุกรรมการ
๓. นายไพฑูรย์ สินลารัตน์
อนุกรรมการ
๔. นายชวลิต ปัญญาลักษณ์
อนุกรรมการ
๕. นายเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
เลขานุการ
การดำเนินงานของ
คณะกรรมการมูลนิธิ
แต่แรกเริ่มนั้น เน้นกิจกรรม
ภายในคือ ชำระบทประพันธ์ของ
พระยาอนุมานราชธน
ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
และชี้แจงเกี่ยวกับ ลิขสิทธิ์
ซึ่งเป็นของมูลนิธิ ฯ เวียนไปยัง
สำนักพิมพ์ต่างๆ
เพื่อป้องกันการระเมิด
ในภายหน้า
ในการประชุม
ครั้งแรกนี้ ตัวแทนทายาทของ
พระสานประเสริฐ คือ นายศรีกมล
นาคะประทีป แจ้งว่ายินดี
ที่จะมอบลิขสิทธิ์ของ
พระสานประเสริฐ เจ้าของนามปากกา
"นาคะประทีป" ให้แก่มูลนิธิฯ
เช่นกัน
ในเรื่องเกี่ยว
กับลิขสิทธิ์นั้น
ชั้นแรกบรรดา สำนักพิมพ์ต่างๆ
ล้วนแต่ อ้างว่าได้รับมอบ
ลิขสิทธิ์เป็นการถูกต้องทั้งสิ้น
แต่ไม่กำหนดเวลา มูลนิธิฯ
จึงมอบให้ นายทวีป วรดิลก
ที่ปรึกษากฎหมาย แจ้งให้แต
่ละสำนักพิมพ์ มาตกลงทำสัญญา
กำหนดระยะเวลา ของหนังสือ
ตามสมควรหนังสือ
ที่จะตีพิมพ์ขึ้นใหม่นั้น
ต้องขออนุญาตจากมูลนิธิฯ
ทุกครั้ง และกำหนดให้จัดพิมพ์
โดยเน้นคุณภาพ
พิถีพิถันต่อต้นฉบับ
แบบปกจะต้อง ให้มูลนิธิ
ตรวจพิจารณา หรือออกแบบให้
และทุกเล่มมีคำนำของ มูลนิธิฯ
อธิบายความเป็นมา ของเนื้อหา
ซึ่งก็เป็นผลให้หนังสือของ
มูลนิธิฯ ที่พิมพ์ขึ้น
ในชั้นหลังได้
รับความนิยมเป็นอันมาก
จนสำนักพิมพ์ หลายแห่งต้องมา
ขออนุญาตตีพิมพ์ซ้ำ
หลังจากที่
คณะกรรมการได้วาง ระเบียบ
และจัดการเกี่ยวกับ
เรื่องลิขสิทธิ์
ให้เป็นที่เข้าใจ ในวงกว้างแล้ว
มูลนิธิฯ ก็เริ่มดำเนิน
กิจกรรมในด้านการ
สงเคราะห์นักเขียน
สนับสนุนการ จัดพิมพ์ผลงาน
ค้นคว้าทางวิชาการ แขนงต่างๆ
อาทิ เรื่องน่ารู้จากอยุธยา โดย
ส.ต.อ. เฉลิม สุขเกษม
,อ่างทองของเรา โดย นายหวน
พินธุพันธ์ เป็นต้น ในชั้นหลัง
ได้ขยายความ ช่วยเหลือครอบคลุม
มาถึงบรรดาศิลปิน ในแขนงต่างๆ
อีกด้วย อาทิ แขนงจิตรกรรม
และประติมากรรม ดนตรี เป็นต้น
นอกจากนี้ยัง ได้ขยายกิจกรรมออก
ไปสู่การสนับสนุนการ อนุรักษ์
และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม การศึกษา
ตลอดจนโบราณวัตถุ
และสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ
ทั้งนี้ได้เสนอแก้ไข
ตราสารเพิ่มเติม วัตถุประสงค์
ดังกล่าว เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
ในการประชุม
คณะกรรมการประจำปี ๒๕๑๔ เมื่อ
วันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๑๔ นายศรีกมล
นาคะประทีป ตัวแทน ทายาทของ
พระสารประเสริฐ ได้ทำ บันทึกมอบ
ลิขสิทธิ์ของ พระสารประเสริฐ
ทั้งในนามปากกา "นาคะประทีป"
และนามปากกา อื่นๆ
ให้แก่มูลนิธิฯ
และการประชุมคราวนี้ ที่ประชุม
เสนอให้เปลี่ยนชื่อ "ซอยเดโช"
เป็น "ซอยอนุมานราชธน"
เพื่อเป็นอนุสรณ์
แก่ท่านเจ้าคุณผู้
เป็นต้นนามของมูลนิธิฯ |