.

logo.gif (6895 bytes)

อาศรมวงศ์สนิท

Wongsanit Ashram

myhouse.gif (17715 bytes)

อาศรมวงศ์สนิท | บ้านพักสัมมนา | หอสมุดทางเลือก | สำนักพิมพ์ | กิจกรรม | มูลนิธิ | สานอาศรม | แลกเปลี่ยนเสนอแนะ | อื่น ๆ | สืบค้น

๗ แนวคิดสันติวิธี

    ๑. ความขัดแย้งเป็นธรรมดาของชีวิต และสังคม
    ๒.ในความขัดแย้ง ไม่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เป็นฝ่ายถูก หรือเป็นฝ่ายผิด โดยสมบูรณ์
    ๓. ความขัดแย้งนั้น จะระงับไปได้ต่อ เมื่อทุกฝ่ายร่วมมือร่วมใจ แก้ไข
    ๔. ทุกคนมีความเป็น มนุษย์เหมือนกัน แม้ผู้ที่ได้เชื่อว่าโหดเหี้ยม ในส่วนลึกก็ยังมี ความโน้มเอียง ต่อความรัก ความกรุณา อ่อนไหวต่อความ เจ็บปวดรวดร้าว ของผู้อื่น คุณความดี จากสิ่งแวดล้อม ภายนอกก็สามารถ แผ่ซึมซับสัมผัส และมีผลานุภาพต่อจิตใจ ของเขาได้
    ๕. ศัตรูของมนุษย์ มิใช่ตัวบุคคล หรือคนกลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง หากความคิดที่คับแคบ ความใฝ่ฝัน ในอำนาจ และความโลภใน ทรัพย์สมบัติ
    ๖. วิธีการต้องสอดคล้อง กับเป้าหมาย เมื่อเห็นว่า ประชาธิปไตยเป็นสิ่งพึง ประสงค์ก็จำต้องใช้วิธีการที่เป็น ประชาธิปไตยคือสันติวิธี ซึ่งเปิดโอกาส ให้ทุกคนสามารถคิดค้น และอยู่ในแถวหน้า ของการต่อสู้อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังสามารถ ปฏิเสธ หรือถอนตัวจากการต่อสู้ได้ หากไม่เห็นด้วย
    ๗. อำนาจมิได้เกิดจากอาวุธ หากขึ้นอยู่กับการยอมรับ หรือการยินยอมเชื่อฟังผู้อื่น

 

สันติวิธี และการยอมทนถูกกระทำ   หรือยอมรับความเจ็บปวด โดยไม่ตอบโต้ด้วย ความรุนแรงสามารถ ปลุกเร้าความดีงาม ที่ซ่อนอยู่ในส่วนลึกของคู่กรณี กระพือประกายแห่งมโนธรรม และความรู้ผิดชอบชั่วดี ในตัวเขา ให้กลับมีพลังในการยับยั้ง พฤติกรรมอันมิชอบ และหนุนให้เกิดการ กระทำอันดีงามขึ้นมาได้ เพราะพลังแห่งสันติวิธีนี้อยู่ที่ “การพูด” กับฝ่ายที่ ขัดแย้งกับตนด้วยความรัก   และเหตุผลปัญญา ซึ่งดำเนินไปได้ เพราะเห็นว่าเป็นความขัดแย้ง ในชนหมู่เดียวกัน เป็นเพื่อนมนุษย์เสมอกันใน ขณะที่การใช้กำลัง และอาวุธนั้นเป็น “การพูด” กับฝ่ายตรงข้ามโดยอาศัย ความกลัว ความเกลียดชัง เป็นสำคัญ และที่ร้าย คือไม่เห็นอีกฝ่ายหนึ่ง เป็นมนุษย์ที่จะขัดแย้งกัน ด้วยสันติได้ และเมื่อใช้อาวุธแล้ว บาดแผลทางสังคม ที่เกิดขึ้นก็ใช่ว่า จะเลือนไปได้โดยง่าย   “สำหรับผู้มีปัญญา การธำรงทางเลือกแห่งสันติวิธีน่า จะนำมาซึ่งความร่มเย็น และเป็นธรรมในสังคม อันเป็นที่ปรารถนา ของทุกคน”

 

ตารางความแตกต่างระหว่าง ความรุนแรง และสันติวิธี
ความรุนแรง สันติวิธี

ความรุนแรง

สันติวิธี

เป้าหมาย

ทำให้คู่กรณีสยบ หรือยอมแพ้ ต้องดูถูกเหยียดหยาม ทำร้าย ต้อนเข้ามุม หรือทำร้ายคู่กรณี

มุ่งแก้ปัญหา ทำงานร่วม กับคู่กรณี หรือเปลี่ยนทัศนะ ของเขาให้มีความเข้าใจ เพื่อหาข้อยุติ ที่ทั้งสองฝ่ายพอใจ

ทัศนคติ จำต้องอาศัยความ เกลียดชัง และหวาดกลัว คู่กรณี เพื่อปลุกให้ เกิดความโกรธ ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็น ต่อการเข้าทำร้าย ต้องการความกล้า และการควบคุมตัวเอง บางครั้งต้องเต็มใจ ที่จะยอมรับความเจ็บปวด จากการกระทำ ของคู่กรณี โดยไม่ตอบโต้กลับไป
หลักการ และ วิธีการ ๑. โจมตี อย่างรุนแรง เพื่อว่าคู่กรณี จะไม่มีทางเลือก นอกจากยอมแพ้ ทำให้ผู้รุกราน ตกอยู่ในสถานการณ์ ลำบากชนิด ที่หากเขายังใช้ ความรุนแรงต่อไป จะกลายเป็นฝ่ายเสียเปรียบ เสนอทางเลือกหลาย ทางเพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ไม่เสียหน้า ขณะเดียวกันก็มีข้อยุติ
๒. ทำทุกอย่าง เพื่อไม่ให้ตนเองเจ็บปวด แต่จะทำทุกวิธีทาง เพื่อให้คนอื่นเจ็บปวด ปฏิเสธความ รุนแรงอย่างสิ้นเชิง เต็มใจที่จะรับความเจ็บปวด แต่จะไม่ทำความเจ็บปวดแก่ ผู้อื่น
๓. ทุกอย่างเท่าที่มี เพื่อให้ได้ชัยชนะเร็ว ที่สุด พยายามยืนหยัด และอดทน เพื่อให้บรรลุถึงข้อยุติ ที่ชอบธรรม และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย
๔.ใช้การประชาสัมพันธ์ เพื่อบิดเบือน สัจจะหากว่าเป็น ประโยชน์แก่ตน หรือเพื่อปกปิดการ กระทำที่ผิดพลาด สื่อสารโดย รักษาสัจจะ และให้เกิดความ กระจ่างชัดเท่าที่จะทำได้ เพื่อสร้างความเห็นใจ และความเข้าใจ ที่ถูกต้องในหมู่ประชาชน และ คู่กรณี
๕. ทำให้เกิดความ เกลียดความกลัว คู่กรณี แสดงความเคารพ และใส่ใจคู่กรณี
๖. อาศัยเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่เหนือกว่า อาศัยคุณภาพจิต ที่เหนือกว่า รวมทั้งความคิด ที่สร้างสรรค์

หลักปฏิบัติ สำหรับการแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยสันติวิธี

๑. ระลึกเสมอว่า เราแสวงหา ความยุติธรรม และความปรองดอง   มิใช่แสวงหาชัยชนะ
๒. เดิน และพูดด้วยอาการ แห่งความเมตตา
๓. ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ และเป็นอิสระ จากผลประโยชน์ส่วนตัว
๔. ปฏิบัติกับมิตร และฝ่ายตรงข้าม ด้วยความเอื้อเฟื้อ
๕. ละเว้นจากการใช้ความรุนแรงด้วย กาย วาจา และใจ

หากเราสามารถรู้ถึง ประวัติอันเร้นลับของศัตรูเรา เราจะพบว่าในชีวิตของคน แต่ละคนมีความเศร้าโศก และเจ็บปวดมาก พอที่จะทำให้เราคลายความ เป็นปฏิปักษ์ลงได้
ลองเฟลโล

๓ ลักษณะพิเศษของสันติวิธี
๑. เป็นเทคนิคในการเผชิญ กับข้อขัดแย้ง อย่างมีประสิทธิภาพชนิดที่ทำให้ หลุดพ้น จากวังวน แห่งความรุนแรงได้
๒. เป็นวิธีการใช้พลังทางสังคม เศรษฐกิจและการเมือง เพื่อการเปลี่ยนแปลง
๓. เป็นหนทาง ที่ประชาชนทุกฝ่าย ได้ค้นพบพลังอำนาจของ ตนเอง โดยไม่จำกัดเพศ วัย หรือ สถานะ

ตารางลักษณะเด่นของความรุนแรง
การยอมจำนน และสันติวิธี

การยอมจำนน ลักษณะเด่น

ความรุนแรงลักษณะเด่น

ลักษณะเด่น ของสันติวิธี

ข้อดี
ไม่ก้าวร้าว ไม่ทำร้าย มุ่งขจัดสิ่ง ไม่ดีออกไป ไม่ก้าวร้าว ไม่ทำร้ายมุ่งขจัดสิ่ง ไม่ดีออกไป
ข้อเสีย ไม่แก้ปัญหา ทำร้ายคู่กรณี

ข้อจำกัดของสันติวิธี

๑. ไม่มีหลักประกันว่า จะสำเร็จทุกครั้งไป
๒. ไม่สามารถ ให้หลักประกันได้ว่าผู้ปฏิบัติการ จะไม่ถูกตอบโต้ ด้วยความรุนแรง ขึ้นอยู่กับความพร้อม ของผู้ปฏิบัติการ อย่างมาก.
๔. หากใช้สันติวิธี ร่วมกับความรุนแรง จะทำให้ความชอบธรรม ของฝ่ายสันติวิธี ลดลง หรือสูญไป กับฝ่ายตรงข้าม

ในการต่อสู้ ด้วยสันติวิธี มหาชนมีอาวุธ ซึ่งเอื้อ ให้เด็ก ผู้หญิง หรือแม้แต่ คนชราผู้ทุพพล ภาพสามารถ ต้านทานคัดค้าน รัฐบาลที่ทรงพลังที่สุด ได้อย่าง สัมฤทธิ์ ผลหาก   จิตใจของคุณกล้าแกล่ง การขาดพละกำลังทาง กาย ก็ไม่เป็นอุปสรรค อีกต่อไป

คานธี

Home | Next | Back To Top

 
 

E-Mail: atc@bkk.a-net.net.th

Internet : https://members.tripod.com/~treethunya

 

อาศรมวงศ์สนิท ตู้ ปณ. ๑ ปท.องครักษ์ จ.นครนายก ๒๖๑๒๐

โทรศัพท์ (๐๒) ๕๔๖-๑๕๑๘,(๐๓๗) ๓๓๓-๑๘๓

โทรสาร (๐๓๗) ๓๓๓-๑๘๔